Powered By Blogger

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการเป็นวิทยากรกระบวนการด้วย “ สุนทรียสนทนา”

เรื่องเล่า..........................
        จากการทํางานในตําแหน่งนักทรัพยากรบุคคล หรือที่ติดปากกันว่า “นักฝึก” รวมทั้งการทํางานในตําแหน่งพัฒนากร ล้วนแต่ทําหน้าที่ในการเป็นวิทยากรกระบวนการ คือ ต้องสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สนทนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งบรรยากาศต้องมีความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นกันเอง และมีความสุขต่อการเรียนรู้ ดังนั้นการนําเทคนิค “สุนทรียสนทนา” จึงเป็นเครื่องมือในการแก้ไขและสร้างบรรยากาศดังกล่าว
         ผู้ที่ทําหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ เป็นผู้ที่ทําให้ การประชุมเป็นไปตามกระบวนการใช้ทักษะและวิธีการหลายๆ อย่าง เพื่อทําให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และนําเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคนแต่ละคนออกมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งไม่ยอมให้ใครคนใดคนหนึ่งครอบงําความคิดเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่ต้องการ การใช้สุนทรียสนทนา หรือ Dialogue จึงเป็นเครื่องมือในการรับฟังวิธีคิดของคนอื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน ละทิ้งสิ่งที่แต่ละคนยึดถือ เพื่อฝ่าข้ามพรมแดนแห่งตัวตนไปพร้อมๆกัน
         หลักการของสุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อํานาจเข้ามาชี้นําเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ การเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา ทุกคนจะต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความเงียบสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดจากันพอได้ยิน พูดเรื่องอะไรก็ได้  (แต่โดยส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนํา และการตอบคําถาม เพราะถือว่า คําถามที่เกิดขึ้นเป็นคําตอบในตัวของมันเอง) และหลักการสําคัญอีกประการหนึ่งคือ “การฟังให้ได้ยิน” โดยพยายามไม่ใส่ใจว่า เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของใคร เพียงแค่กําหนดใจให้รู้ได้ว่าเสียงที่ได้ยินคือเสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะให้เราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆเท่านั้น นอกจากนี้จะต้องมีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆ ที่ผ่านเข้ามากระทบ ซึ่งอาจจะมีความคิดบางอย่างวาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้น อาจจะถูกนําไปใช้ในการเริ่มต้นของการทําอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้ในอนาคต โดยมีแนวทางที่สําคัญ คือการสร้างการยอมรับและเข้าใจโดยปราศจากเงื่อนไข ๔ ประการ ที่สําคัญที่ผู้เป็นวิทยากรกระบวนการ  และขอความร่วมมือ คือ
           ประการที่ ๑ การสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย ด้วยการจัดสถานที่ให้สะดวกสบาย เช่น การนั่งที่พื้น ใช้เบาะรองนั่งแทนเก้าอี้ เป็นต้น ทําความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการ ทําสุนทรียสนทนาให ้ทะลุ ซึ่งเป็นการคิดร่วมกันทําให้ ความคิดที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ มารวมตัวกัน และทําให้เกิดการเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดพลัง (ยกตัวอย่าง เช่น เดียวกับการทําให ้พลังงานแสงที่พุ่งกระจายไปคนละทิศคนละทางและไร้พลัง แต่เมื่อมีเทคโนโลยีทําให้แสงเกิดการรวมตัวกัน พุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน จะกลายเป็นแสงเลเซอร์ ที่สามารถทะลุทะลวงสิ่งต่างๆ ได้ อย่างเหลือเชื่อการเข้าใจปรัชญาของสุนทรียสนทนาอย่างลึกซึ้ง จะทําให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาในกระบวนการ สามารถฟันฝ่ากําแพงความลังเลสงสัยไปได้ )
           ประการที่ ๒ การสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย คือการรื้อถอนสมมุติบัญญัติ ปลดปล่อยตนเองจากภารกิจ บทบาท หน้าที่ อํานาจและอุปาทานที่ห่อหุ้มตัวตนอยู่ในทุกรูปแบบ เพื่อมิให้กลายเป็นกําแพงอุปสรรค ต่อการเรียนรู ้เพื่อการเข้าถึงความจริงที่ฝังลึกอยู่ภายในตัวเอง (tacit knowledge) ดังนั้น วิทยากรกระบวนการ จึงต้องขอความร่วมมือกับผู้ร่วมวงสุนทรียสนทนา ให้กําหนดบทบาทของตัวเองเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน (ไม่ควรลืมว่าเป้าหมายของการรื้อถอนจํากัดขอบเขตอยู่ที่ตนเองเท่านั้นการ ก้าวล่วงไปวิพากย์วิจารณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงรื้อถอนคนอื่น เป็นสิ่งที่พึงละเว้นโดยเด็ดขาด)
            ประการที่ ๓ การสร้างบรรยากาศการฟังอย่างลึกซึ้ง จะต้องไม่ให ้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องสังเกตอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านั้นด้วย (โดยทั่วไปขณะที่ฟังนั้น จะมีความรู้สึกบางอย่างตามไปด้วยเช่น รําคาญ หมั่นไส้เคลิบเคลิ้ม ขํากลิ้ง ชื่นชม ฯลฯ และความรู้สึกเหล่านี้คือที่มาของ ‘อคติ’ ต้องตามมันให้ทันด้วยการฟังให้ ได้ยิน (deep listening) ก็จะสามารถจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้แล้ว ก็สามารถเริ่มต้นตั้งวงคุยเพื่อคิดร่วมกันได้เลย) ซึ่งการฟังอย่างลึกซึ้ง วิทยากรขอความร่วมมือให้ผู้ร่วมประชุมดําเนินการ
              - ฟังอย่างตั้งใจ
              - ฟังโดยไม่ตัดสิน
              - ฟังทั้งเนื้อหาและความรู้สึก
              - อย่าขัดจังหวะ
              - ฟังให้จบกระบวนการ
            ประการที่ ๔ การสร้างบรรยากาศความเท่าเทียมกัน คนสองคนขึ้นไป หรือ ๗ – ๘ คน ถือว่ากําลังดีแต่ถ้าจําเป็นก็อาจมีได้ ถึง ๒๐ กว่าคน แต่ต้องให้นั่งล้อมวงเป็นวงกลมให้ทุกคนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ทั้งหมด และตั้งกติกาการพูดคุยไว้อย่างหลวมๆ เช่น หลีกเลี่ยงการเสนอแนะ การโต้แย้ง การผูกขาดเวที การทําให้ผู้อื่นเสียหน้า พูดให้สั้น หลังจากพูดแล้วควรรอให้คนอื่นๆได้ มีโอกาสพูดผ่านไปก่อนสองหรือสามคนค่อยกลับมาพูดอีก (การนํากติกาขึ้นมาเขียนให้ทุกคนเห็นจะช่วยเตือนในตอนแรกอาจต้องมีใครสักคนทําหน้าที่จัดการกระบวนการ (facilitator) เพื่อช่วยลดความขลุกขลัก แต่ถ้าผู ้ร่วมวงสามารถนํากติกาเข้าไปอยู่ในใจได้แล้ว เขาจะควบคุมการสนทนาได้เอง และไม่จําเป็นต้องมีใครทําหน้าที่นี้อีกต่อไป)
         สุนทรียสนทนา เป็นเครื่องมือของวิทยากรกระบวนการ ที่ข้าพเจ้าฯ ได้นํามาใช้ให้ผู้เข้าร่วมประชุม หรือจัดเวทีในการพูดคุย เพื่อลดช่องว่าง หรือความเป็นตัวตนของตนที่ดีและได้ผลมาก ซึ่งสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขความขัดแย้ง ทั้งในกลุ่ม องค์กร หรือหมู่บ้าน/ชุมชน แต่ผู้ที่จะนําเครื่องมือนี้ไปใช้ ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการ แนวทาง และวิธีการให้ดีเสียก่อน เพราะมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง และข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความรู้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย
ผู้เขียน    นายเชิดทวี  สูงสุมาลย์  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ (หัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล)
สังกัด      ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน  สถาบันการพัฒนาชุมชน  กรมการพัฒนาชุมชน
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/6-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น