Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

การเจรจาต่อรอง

๑) เกริ่นนำ
การเดจรจาต่อรอง เป็นทักษะส่วนบุคคลที่สามารถเรียนรู้กันได้ และมักจะถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคม และกิจกรรมทางธุรกิจ ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการในการเจรจาต่อรองที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ นอกจากนี้ ยังสามารถทำการวิเคราะห์ตัวเราเองได้อีกด้วยว่า จุดแข็ง และจุดอ่อนในการเจรจาต่อรองของเรานั้นมีอะไรบ้าง และเมื่อได้ศึกษาเนื้อหาแล้ว สามารถนำแนวคิดต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า ความตั้งใจมากขนาดไหน รวมถึงการประยุกต์ และการดำเนินการตามหลักการต่างๆ อย่างรอบคอบมากแค่ไหนด้วย
๒) ขุมความรู้
การเตรียมความพร้อมเพื่อเจรจาต่อรอง
     1. การระบุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ว่าสิ่งที่ต้องการจากการเจรจาต่อรองคืออะไร สิ่งที่จำเป็นต้องได้จริงคืออะไร จะยอมเสียอะไร เพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นมา มีข้อจำกัดเวลา และข้อจำกัดอื่นๆ อย่างไรบ้าง
     2. การพิจารณาประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณามีอะไรบ้าง ใช้อะไรสนับสนุน ฝ่ายตรงข้ามจะพิจารณาถึงประเด็นต่างๆ อย่างไรบ้าง ระหว่างสองฝ่ายที่จะทำการเจรจาต่อรองกัน
     3. การเก็บรวบรวมข้อมูล จะเจรจาต่อรองกับใคร รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขาบ้าง พวกเขาทำการเจรจาต่อรองอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร สถานที่ และเวลาการเจรจาต่อรอง คือที่ไหน เมื่อไร มีทางเหลืออื่นๆ ที่จะเป็นข้อดี และข้อเสียสำหรับเราหรือเขาหรือไม่ มีประเด็นที่เกี่ยวกับ
การเมือง เศรษฐกิจ และสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เรามีอำนาจในการต่อรองอะไรบ้าง
     4. การทำตัวเป็นมิตร และการสร้างบรรยากาศ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายตรงข้าม สร้างบรรยากาศสำหับการเอาชนะร่วมกันได้อย่างไร
     5. การเตรียมความพร้อมสำหรับความขัดแย้ง ว่าอะไรคือสิ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง พิจารณาถึงสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามจะต้องได้จริงๆ กับสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างไร
     6. การประนีประนอมเพื่อตกลงข้อเสนอ จะตอบโต้กับวิธีการในการตอบสนองความขัดแย้งของฝ่ายตรงข้ามอย่างไร เราพร้อมที่จะเสียอะไรได้บ้าง โดยมีข้อแม้อะไร เราคาดหวัง
จะได้อะไรตอบแทนจากที่เรายอมเสียไป
     7. การทำข้อตกลง และการยืนยันข้อเสนอ จะทำข้อตกลงให้เป็นทางการขนาดไหน จะต้องมีการขออนุมัติก่อนหรือไม่ จะต้องใช้เวลานานเท่าไร ขั้นตอนในการดำเนินงานมีอะไรบ้าง
๓) แก่นความรู้
         การเจรจาต่อรองที่ประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องจบลงด้วยผลลัพธ์ที่ทั้งสองฝ่ายต้องการจะได้ เมื่อใดก็ตามที่นักเจรจาต่อรองมีความคิดว่า ฉันต้องชนะ และไม่สนใจกับอีกฝ่ายหนึ่งเลย ความหายนะก็มารออยู่ข้างหน้าแล้ว การเจรจาต่อรองแบบชนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย(เอาชนะร่วมกัน) นี้เป็นวิธีการดำเนินธุรกิจที่ดี เพราะเมื่อทุกๆ ฝ่ายที่ทำการตกลงกันนั้นได้รับผลลัพธ์ที่พอใจร่วมกัน นั่นหมายถึงพวกเขาจะสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างประสบความสำเร็จ และแน่นอนในอนาคตพวกเขาอยากจะกลับมาทำงานร่วมกันอีก การประนีประนอมก็เป็นความจำเป็นของการให้ และรับในการดำรงชีวิตประจำวันตามปกติ เพราะไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลยในการที่จะได้อะไรมาโดยไม่ต้องเสียอะไรไป ทุกๆ ครั้งที่จะได้รับอะไรมานั้นจะต้องมีต้นทุน หรือยินยอมเสียอะไรสักอย่างหนึ่งไปเสมอ หลายๆ คนจะไม่สมารถเป็นนักเจรจาต่อรองที่ดีได้เลยถ้าไม่เปลี่ยนความคิดของตนเองเสียก่อน ลักษณะส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักเจรจาต่อรองที่ประสบผลสำเร็จ ให้คุณพิจารณาถึงคุณลักษณะที่ดีที่คุณมีอยู่แล้ว และทำการพัฒนาในสิ่งที่คุณยังขาดอยู่ต่อไป


ผู้บันทึกความรู้  นายพยุงศักดิ์ ศรีระพรม  ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ   ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี  โทร.0-๔๒๒๔-๗๗๘๕
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/12-km

1 ความคิดเห็น: