Powered By Blogger

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการอบรมคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ

      การพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาองค์กร ซึ่งขณะที่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  การพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง และมิติหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีซึ่งส่วนประกอบหนึ่งก็คือเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ ซึ่งในการพัฒนาทรัพยากรบุคลากร จำเป็นต้องพัฒนาทักษะด้านการใช้ซอฟท์แวร์หรือการใช้โปรแกรมเช่นกัน แต่กระบวนการและวิธีการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านการใช้โปรแกรมโดยการอบรมนั้นมักพบปัญหา ดังต่อไปนี้
๑. ไม่บรรลุผลวัตถุประสงค์(ส่วนใหญ่ คือ สามารถใช้โปรแกรมในการปฏิบัติงานได้)
๒. ไม่สามารถควบคุมระยะเวลา หรือแผนการอบรมได้
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก
  ๑. ผู้ใช้งาน : ความสามารถพื้นฐานของผู้เข้าอบรมมีความแตกต่างกันมาก เช่น ประสบการณ์  การใช้โปรแกรม ความสนใจ เป็นต้น
  ๒. เครื่องคอมพิวเตอร์ : อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม(คอมพิวเตอร์/สัญญาณอินเตอร์เน็ต) เช่น  สเป็คของคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ(ละเอียดถึง Service Packและความสมบูรณ์ของ  ระบบปฏิบัติการ)ของคอมพิวเตอร์
  ๓. โปรแกรม : รวมถึงเนื้อหาวิชา
  ๔. วิทยากร : ความสามารถ ประสบการณ์ หรือวิธีการอบรม ของวิทยากร ซึ่งการแก้ไขปัญหา      เหล่านี้ สามารถแก้ไขปัญหาตามสาเหตุ ดังนี้
กรณี ที่ ๑ ผู้ใช้งาน
§  ทางเลือก ที่ ๑ การคัดเลือกบุคลากรเข้ารับการอบรม ควรคัดเลือก ผู้มีความสามารถใกล้เคียงกันเข้าอบรมแต่ละรุ่นหรือชั้นเรียน
§  ทางเลือก ที่ ๒ อบรมโดยระบบคู่หู  ซึ่งจะช่วยกันสอนและช่วยกันจดบันทึก โดย อีกคนต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานมากกว่า
§  ทางเลือก ที่ ๓ ก่อนการฝึกอบรม ถ้าเป็นไปได้ ควรส่ง โปรแกรม พร้อมคู่มือหรือคลิบ การติดตั้ง การใช้โปรแกรม ให้ทดลองใช้ก่อนล่วงหน้า
กรณี ที่ ๒ เครื่องคอมพิวเตอร์ (ส่วนใหญ่เป็น Notebook)
§  ทางเลือก ที่ ๑ ใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักมีบริการตามสถานศึกษา (สามารถแก้ปัญหาระบบอินเตอร์เน็ตให้เพียงพอได้ด้วย)แต่มักมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และหลังสิ้นสุดการอบรม งานหรือผลงาน การใช้โปรแกรม จะค้างอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ผู้เข้าอบรมไม่สามารถทบทวนได้
§  ทางเลือก ที่ ๒ อบรมโดยคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ส่วนบุคคล สามารถแก้ไขข้อเสียจากทางเลือกที่ ๑ โดยสามารถจัดอบรมตามสถานที่ให้บริการการฝึกอบรมทั่วไปได้ ทางเลือกนี้ ต้องจัดหาอุปกรณ์เสริมเช่น ปลั๊กไฟ สัญญาณอินเตอร์เน็ต อุปกรณ์บรรจุโปรแกรม ให้เพียงพอ ซึ่งสามารถลดปัญหา(ความเสี่ยง)ที่เกิดขึ้น โดย
   - หากต้องมีการติดตั้งโปรแกรมก่อน ถ้าเป็นไปได้ ควรส่ง โปรแกรม พร้อมคู่มือ(หรือคลิบ) การติดตั้ง การใช้โปรแกรม ให้ทดลองใช้ก่อนล่วงหน้า เพื่อผู้เข้าอบรมจะได้นำอุปกรณ์ที่ติดตั้งโปรแกรมได้สมบูรณ์เข้าอบรม และได้ทดลองใช้ หากมีข้อสงสัย ในการใช้งานก็จะได้นำมาสอบถามในเวลาการอบรม
   - หากผู้เข้าอบรม เข้าห้องอบรม ก่อนเวลากำหนด ควรให้กลุ่มเหล่านั้นทดลองติดตั้งโปรแกรมก่อนซึ่ง เป็นการทดลองโปรแกรมเพื่อทราบปัญหาเบื้องต้นและสามารถแก้ไขได้ทัน และ กลุ่มเหล่านี้จะเป็นผู้ช่วยวิทยากรในการแนะนำคนอื่น
   - หากต้องใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตอาจขอเพิ่มความเร็วประเภทชั่วคราวจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(อาจมีค่าใช้จ่าย ตามแต่ข้อตกลง)
กรณี ที่ ๓ โปรแกรม
§  ควรเลือกโปรแกรม โดยคำนึงถึง คุณสมบัติคอมพิวเตอร์คุณสมบัติขั้นต่ำ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์(ละเอียดถึง Service Pack)
§  ควรทดสอบโปรแกรม โดยการติดตั้ง ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง เพื่อทดสอบการใช้งาน
§  ควรมีคู่มือโปรแกรม เพื่อผู้เข้าอบรมสามารถศึกษาภายหลัง
กรณี ที่ ๔ วิทยากร
§  ควรจัดทีมผู้ช่วยวิทยากร โดยสอนการใช้งานแก่ทีมตามแผนการสอน จำนวนผู้ช่วยวิทยากร ขึ้นอยู่กับเนื้อหา,โปรแกรม,จำนวนผู้เข้าอบรม,ความสามารถพื้นฐานผู้เข้าอบรม และงบประมาณโครงการ ซึ่งควรมีผู้ช่วยวิทยากรหนึ่งคนต่อผู้เข้าอบรมสิบคน(โดยประมาณ)
§  เครื่องคอมพิวเตอร์วิทยากรควรติดตั้งโปรแกรมซูมหน้าจอ(มีให้ดาวน์โหลด ฟรี) เพื่อความสะดวกในการสอน และผู้เข้าอบรมสามารถเห็นขั้นตอนการอบรมชัดเจน
§  ก่อนอบรม เพื่อโดยคำนึงถึง คุณสมบัติคอมพิวเตอร์คุณสมบัติขั้นต่ำ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์(ละเอียดถึง Service Pack)
§  กรณีมีการอบรมมากกว่า ๑ วัน และการอบรมโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ แทรกหรือเป็นส่วนหนึ่งของ หลักสูตรการอบรมอื่น ควรจัดอบรมในช่วงบ่ายหรือวันที่สอง เพื่อเพิ่มเวลาการติดตั้งโปรแกรมหรือเตรียมอุปกรณ์ในช่วงเที่ยงหรือเย็นค่ำ โดยไม่ควรจัดอบรมเป็นวิชาสุดท้าย หรือในวันสุดท้าย เนื่องจาก ผู้เข้าอบรมจะพะวงกับการเดินทางกลับและไม่สามารถทดสอบความเข้าใจหรือการงานได้
§  กรณีมีการอบรมมากกว่า ๑ วัน ควรมีการบ้านหรือแบบฝึกให้ผู้เข้าอบรมกลับไปทดลองใช้หลังสิ้นสุดการอบรมวันแรกเพื่อให้ผู้เข้าอบรมทบทวน และพบปัญหาการใช้งาน และอาจจะแสดงผลงานโดยให้ผู้เข้าอบรมนำเสนอในวันถัดไป
§  วิทยากรควรลำดับเนื้อหาและแนะนำการใช้อย่างช้าๆ และหมั่นสอบถามผู้เข้าอบรมถึงความก้าวหน้าแต่ละลำดับเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากผู้เข้าอบรมท่านใดเกิดปัญหาควรให้ผู้ช่วยวิทยากรเข้าให้คำแนะนำทันที โดยวิทยากรหลักควรใช้เวลานี้ทบทวนเนื้อหา



ผู้บันทึกความรู้  นายนราธิป  สุวรรณวงศ์  ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ    ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี   โทร.0-๔๒๒๔-๗๗๘๕
*** ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่  http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/9-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น