Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการเตรียมความพร้อมผู้เข้าอบรมแบบง่ายๆ (ด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม)

     การเตรียมความพร้อมผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งที่ผู้ดำเนินการฝึกอบรมจะละเลยมิได้ เพราะการเตรียมความพร้อมเป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีเท่าเทียมกัน ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความคุ้นเคยรู้จักกัน มีความสนิทสนมกัน มีความเป็นกันเอง มีส่วนร่วมทั้งผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกันเองและวิทยากร นอกจากนั้นยังทำให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบความคาดหวังและกฎกติกาการอยู่ร่วมกันในการเข้าอบรม และที่สำคัญคือผู้เข้ารบรมได้รับความสนุกสนานกับการฝึกอบรมไปด้วย
       ขั้นตอนและวิธีการ (ผู้เข้าอบรมพร้อมกันแล้ว)
          ขั้นตอนที่ 1 วิทยากรทักทายผู้เข้าอบรมด้วยคำว่า สวัสดีครับหรือสวัสดีค่ะ 2-3 ครั้ง ดังขึ้นเลื่อยๆ แล้วกล่าวต้อนรับ และซักถามถึงสถานการณ์ในการเดินมาเข้ารอบรมเช่น ตื่นกี่โมง เดินทางออกจากบ้านกี่โมง ด้วยพาหนะอะไร สนุกกับการเดินทางหรือไม่ ทานอาหารเช้าหรือยัง ท่านพร้อมที่จะรับการอบรมหรือยัง ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว วิทยากรสั่งผู้เข้าอบรม ปรบมือ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง ปรบมือ 3 ครั้ง วิทยากรสาธิตการปรบมือแล้วใช้มือขวาแตะที่หัวใจแล้วชกขึ้นไปด้านหน้าของตัวเองเฉียงประมาณ 45 องศา พร้อมกับกล่าวคำว่า เราทำได้ หรือ สู้ คำได้คำหนึ่งด้วยเสียงที่ดังและชัดเจน คำสั่งที่วิทยากรควรใช้ คือ ผู้นำชุมชนปรบมือ หรือ ปรบมือผู้นำ สำหรับเยาวชนให้ใช้คำว่า ปรบมือเยาวชน หรือ เยาวชนปรบมือ (ถ้าเป็นผู้นำชุมชนจะใช้คำว่า เราทำได้ ถ้าเป็นเยาวชนจะใช้คำว่า สู้ (ปรบมือ 3 ครั้ง มีความหมายว่า ขยัน อดทน สามัคคี) วิทยากรควรทดสอบ 2-3 ครั้ง หรือแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นฝ่ายเท่าๆกัน
          ขั้นตอนที่ 2  รู้จักกัน วิทยากรแนะนำตนเองที่ละคน  เช่น ชื่อ/นาม/สกุล//ชื่อเล่น/ตำแหน่ง/สถานที่ทำงาน/สถานภาพ เป็นต้น ต่อจากนั้น ให้ผู้เข้ารับการอบรมแนะนำตนเองที่ละคน โดยแนะนำชื่อ/นามสกุล/ชื่อเล่น/ตำแหน่ง/ที่อยู่/สถานภาพ เป็นต้น เมื่อแนะนำเสร็จแต่ละคนให้ปรบมือให้เกียรติพร้อมกัน (ถ้าหากมีผู้เข้าอบรมเป็นจำนวนมากให้แบ่งเป็นกลุ่มๆละไม่เกิน 20 คน)
เสร็จแล้ววิทยากรพาร้องเพลงโอเพื่อนรัก พร้อมทำท่าประกอบเพลง (เนื้อเพลงโอเพื่อนรัก โอเพื่อนรัก เรามาพบกัน สวัสดี สวัสดี สะบายหรือ สะบายดี เรายินดีที่ได้พบกัน ให้ทุกคนร้องตามและทำท่าประกอบพร้อมกัน
          ขั้นตอนที่ 3 ค้นหาความคาดหวัง/และสร้างกฏกติกาการอยู่ร่วมกัน วิทยากรแจกบัตรคำให้ผู้เข้าอบรมคนละ 2 แผ่น ซึ่งเป็นกระดาษสีที่แตกต่างกัน ใบที่ 1 ให้เขียนความคาดหวังโดยให้คำถามว่า ท่านมาอบรมครั้งนี้ท่านอยากได้อะไร หรือ ท่านอย่างได้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง ใบที่ 2 ให้เขียนกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน โดยใช้คำถามว่า เมื่อเรามาอยู่รวมกันเราควรมีกฎกติกาหรือข้อห้ามอะไรบ้าง วิทยากรเก็บรวบรวมแล้วอ่านความคาดหวังและกฎกติกาให้ผู้เข้าอบรมทราบหรือให้อ่านข้อความทีละคน เสร็จแล้วให้นำบัตรคำไปปิดไว้ที่บอร์ด โดยแยกเป็นสองหมวด คือ หมวดความคาดหวังและหมวดกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน วิทยากรพาร้องเพลง พวกเรามาอยู่ร่วมกัน พร้อมแสดงท่าทางประกอบ(เนื้อเพลง) พวกเรามาอยู่ร่วมกัน ไม่มีรั้วมาขวางกั้นกลาง ความรักของเรามิจาง เปิดทางให้สร้างรักกันอยู่กันคนละบ้าน  แต่พวกเรานั้นมาร่วมอบรมด้วยกัน อย่าให้เขาเย้ยหยัน ว่าพวกเรานั้นไม่สามัคคี อยู่ด้วยกันดีๆ เพราะพวกเรานี้มาอบรมด้วยกัน เสร็จปรบมือให้เกียรติตัวเอง หลังจากนั้นเข้าสู่ภาควิชาการได้

          สรุป จะเห็นได้ว่าการเตรียมความพร้อมผู้เข้าอบรมด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรมนั้น ผู้เข้าอบรมได้รับความสนิทสนมเป็นกันเองรู้จักกันมากขึ้น ทำให้การดำเนินการฝึกอบรมในวิชาต่อๆไปกระทำได้ง่ายขึ้น ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความตั้งใจฟังวิทยากรบรรยายและอยากจะมีส่วนร่วมกับผู้บรรยายเหมือนกับกฎกติกาที่ได้ร่วมกันสร้างเอาไว้  แต่งถึงอย่างไรก็ตามเทคนิคการเตรียมความพร้อมผู้เข้าอบรมมีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่ลักษณะการฝึกอบรม หรือ แล้วแต่วัยวุฒิ คุณวุฒิ ของผู้เข้าอบรม หรือแล้วแต่เทคนิคหรือความชำนาญของวิทยากรแต่ละคน แต่งถึงอย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมผู้เข้าอบรมก็ยังมีความจำเป็นอยู่สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรมทั่วๆไป สำหรับกิจกรรมละลายพฤติกรรมนี้ควรมีวิทยากรดำเนินการ 2-3 คน 


เจ้าของความรู้  นายสุวัฒน์ชัย  ทิพย์จันทร์  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี   สถาบันการพัฒนาชุมชน   กรมการพัฒนาชุมชน  
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/15-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น