หากเปรียบหนังสือสักเล่มหนึ่งกับคนเรา หน้าปก
ก็เปรียบเสมือน “หน้าตา” เป็นส่วนที่มองเห็นเป็นอย่างแรก
ถ้ามีเสน่ห์มากพอก็จะดึงดูดผู้อ่านให้หยิบติดมือไปอ่านได้ ส่วน เนื้อหา อาจเปรียบเสมือน
“นิสัย” ที่ต้องไปทำความรู้จักกันภายหลัง ดังนั้น แม้ว่าเนื้อหาจะดีแค่ไหน
แต่หน้าปกไม่ชวนให้หยิบอ่าน ประโยชน์ของเนื้อหานั้นก็เหมือนไร้ประโยชน์
ในการทำงานฝึกอบรม
ผู้เขียนได้รับผิดชอบจัดทำเอกสารสรุปการดำเนินงานฝึกอบรม และเอกสารทางวิชาการ
เหล่านี้ล้วนจำเป็นต้องมีการออกแบบหน้าปกหนังสือ คู่มือ และรายงานทางวิชาการ จึงขอนำความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง
มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบทความนี้เกี่ยวกับการออกแบบหน้าปกด้วยโปรแกรม Photoshop
ในสไตล์ “เรียบ ง่าย ได้ใจความ”
ส่วนขยาย
กระบวนการ / ขั้นตอนการทำงาน
1. เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop
ตั้งค่าขนาดตามชิ้นงานที่ต้องการใช้ ในกรณีนี้จะทำการออกแบบปกหนังสือขนาด A5
(297 x 210 มิลลิเมตร รวมสันปก 2 มิลลิเมตร ดังนั้น จะตั้งขนาดไว้ที่ 299 x 210 มิลลิเมตร) ค่า Resolution หรือค่าความละเอียดตั้งไว้ที่
300 Pixels/inch ซึ่งเป็นค่ามาตรฐาน
ถ้าตั้งสูงกว่านี้อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง หรือตั้งต่ำกว่านี้
เมื่อขยายภาพจะแตก
2. แบ่งหน้ากระดาษด้วยเส้นกริด(สีฟ้า)
ลากเส้นจากเส้นแบ่งระยะทางซ้ายมือมาอยู่ตรงกลาง (ถ้าไม่มี เลือกเมนู View
>> Rulers หรือ Ctrl + R) และอีก 2 เส้น ห่างจากระยะสันปกข้างละ 1 มิลลิเมตรจากเส้นแบ่งหน้ากระดาษ
3. นำภาพพื้นหลังที่เลือกไว้มาวาง ปรับขนาดให้พอดีกับชิ้นงาน
เมื่อได้ขนาดภาพแล้วให้กด Enter หากต้องการปรับขนาดภาพใหม่ให้เลือกเมนู
Edit >> Free Transform หรือ Ctrl + T
4. จากนั้นเปลี่ยนสีภาพให้เป็นสีขาวดำ
เพื่อไม่ให้ภาพพื้นหลังเด่นเกินเนื้อหาและเปลี่ยนให้เป็นสีโทนเดียวกันทั้งภาพ
เลือกเมนู Image >> Adjustments >> Black & White หรือ Ctrl + Atl + Shift
+ B
5. ใช้ Hue/Saturation เพิ่มหรือลดความสดของสีภาพ
สามารถปรับสีต่าง ๆ ให้มีความเข้มข้นของสีมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดความเข้มข้นของสีบางสีเพื่อเน้นสีที่เราต้องการให้โดดเด่น
การเน้นเฉพาะสีเดียว และการเปลี่ยนสีจากสีเดิมเป็นอีกสีที่ต้องการ เลือกเมนู Image
>> Adjustments >> Hue/Saturation หรือ Ctrl + U
6. ทำสันปกโดยใช้ Rectangular Marguee Tool เลือกส่วนที่เว้นระยะไว้
แล้วใช้ Paint Bucket Tool เทสีลงในส่วนที่เลือก
จะได้สันปกตามขนาดที่แบ่งไว้
7. ตกแต่งภาพประกอบ ตัดพื้นหลังออกโดยใช้เครื่องมือ Polygonal Lasso Tool ลากตามเส้นขอบรูปเพื่อเลือกส่วนที่จะนำมาใช้
เมื่อได้ส่วนที่ต้องการ Copy >> Past แล้วเอาพื้นหลังออก
โดยคลิกให้รูปดวงตาที่ Layer Background ออก หรือลบ Layer
นั้นทิ้ง
8. เลือกแถบ Adjustments >> Curves เป็นการปรับความสว่าง
– ความมืดของภาพ
ในกรณีตัวอย่างต้องการวัตถุที่มีสีขาวทั้งภาพจึงปรับให้อยู่จุดบนสุด ซ้ายสุด
เพื่อให้ได้ตัววัตถุสีขาว จากนั้น Save ภาพเป็นไฟล์ .PNG
(Portable Network Graphics) เป็นภาพที่มองทะลุพื้นหลังได้
(ตัดปัญหาพื้นหลังทับซ้อนข้อความ / รูปภาพ)
9. การตกแต่งปกหน้า เริ่มจากใส่กรอบ
วางเส้นในส่วนที่จะพิมพ์รายละเอียดหนังสือลงไป จากนั้นใส่ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง
สังกัดลงไป โดยใช้เครื่องมือ Type Tools จัดรูปแบบโดยเลือก Layer
ที่จะเคลื่อนย้าย จากนั้นใช้เครื่องมือ Move Tool เคลื่อนย้ายตำแหน่งตัวหนังสือ
10.
นำภาพโลโก้ กรมการพัฒนาชุมชนมาใส่ ปรับขนาดและตำแหน่งให้เหมาะสม
เช่นเดียวกับภาพประกอบที่สื่อถึงการออกกำลังกายด้วยท่า “ต่อปรบมือ”
ซึ่งเป็นหนึ่งในท่ากายบริหาร 10 ท่าพญายม เชื่อมโยงกับเนื้อหาภายในเล่ม
11.
สำหรับปกหลังใช้โลโก้ กรมการพัฒนาชุมชนเป็นจุดสนใจ ใส่ช่องทางการติดตาม URL
ของเว็บไซต์ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี และ QR Code ช่องทางการติดตามต่าง ๆ เพื่อลดการใช้ตัวหนังสือที่มากจนเกินไป
12. หลังจากปรับแต่งผลงานจนเป็นที่พอใจตามสไตล์ของตัวเองแล้ว ให้ทำการ Save
โดยเลือกเมนู File >> Save as >> ตั้งชื่อไฟล์
>> เลือก Fomat ภาพเป็น .JPG
เพื่อให้ได้ไฟล์ที่มีคุณภาพ เหมาะกับการพิมพ์
ประโยชน์ของการออกแบบหน้าปกด้วยโปรแกรม Photoshop
๑.
โปรแกรม Photoshop มีลูกเล่นหลากหลายให้เลือกใช้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆ ให้กับภาพ
และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch
ตกแต่ง
๒.
สามารถสร้างผลงานสำเร็จได้โดยใช้โปรแกรมเดียว
๓.
ใช้ความรู้ขั้นพื้นฐานของ Photoshop
ก็สามารถสร้างชิ้นงานให้มีคุณภาพ โดดเด่นได้
หากรู้จักการจัดองค์ประกอบที่ดี
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๑.
การเตรียมความพร้อม
-
อุปกรณ์ (คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม Photoshop)
-
ภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในเล่ม
-
ข้อมูล ความคิด จินตนาการ
๒.
องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานมีความโดดเด่นน่าสนใจ ดึงดูดสายตาให้ผู้อ่านหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาอ่าน
คือ การใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบ ได้แก่ รูปแบบตัวอักษรและขนาด
การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง การกำหนดสี การจัดวางตำแหน่ง
เจ้าของความรู้
นางสาวศรีสุดา หมวดเมือง
ตำแหน่ง
นักทรัพยากรบุคคล(พนักงานราชการทั่วไป)
สังกัด
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี สถาบันการพัฒนาชุมชน
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/44-km-photoshop