การพัฒนาบุคลากร
หรือ คน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านทักษะ
การปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำด้วยวิธีการฝึกอบรม
ร่วมสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ เป็นต้น เพราะการฝึกอบรมเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่แตกต่างกัน
ให้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน มีทิศทางเดียวกัน ดังนั้นกิจกรรมเสริมคุณค่าระหว่างการฝึกอบรม
จึงมีส่วนสำคัญต่อการละลายพฤติกรรมของมนุษย์ให้เกิดการพัฒนาตนเอง (Self-development)
และปรับตนเองได้ (Self-modification)
การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และดำเนินการฝึกอบรม
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดกิจกรรมเสริมคุณค่าให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ไม่ว่าจะเป็นภาคเช้าหรือว่าภาคกลางคืน เช่น กิจกรรมทำบุญตักบาตร
กิจกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งจากประสบการณ์การเป็นวิทยากรการฝึกอบรมอย่างมากมายของข้าพเจ้าพบว่า
หลายๆ หลักสูตร ไม่ได้กำหนดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพราะว่า
ไม่มีวิทยากรที่มีความรู้ ทักษะ ในการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การทำ “พลังลมปราณ”
เป็นกิจกรรมเสริมคุณค่าในการออกกำลังกายในภาคเช้า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกิจกรรม
ปรับพฤติกรรม ได้เป็นอย่างดี โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานีได้ศึกษาจากวีดีทัศน์
การทำพลังลมปราณ ของนายศุภกิจ
นิมมานนรเทพ
การดำเนินกิจกรรมเสริมคุณค่าด้วยพลังลมปราณ
วิทยากรต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งสถานที่ เครื่องเสียง
และนัดหมายให้ผู้เข้าอบรมให้ชัดเจน เช่น เวลา สถานที่ เครื่องแต่งกาย
และมอบหมายให้ผู้ทำหน้าที่กรรมการอำนวยการประจำวัน (กว.) ปลุกผู้เข้าการอบรม
และเริ่มในเวลา ๐๕.๓๐ น.
การบริหารร่างกายด้วยพลังลมปราณ
เป็นการฝึกหายใจที่ถูกวิธี และการบริหารร่างกาย มีทั้งหมด ๖ ท่า รวมเป็น ๑ ยก
ใช้เวลา ๑๐ นาที ทำให้มีสมาธิ สุขภาพร่างกายแข็งแรง รักษาโรค โดยวิทยากรเป็นผู้นำการบริหารร่างกายมีวิธีการ
ขั้นตอน ดังนี้
การเตรียมตัว
๑. วิทยากรให้ผู้เข้าอบรมตั้งแถว
โดยให้แต่ละคนมีระยะห่าง ๑ ช่วงแขน
๒. ให้ผู้เข้าอบรม ได้อบอุ่นร่างกาย
ประมาณ ๕-๑๐ นาที
๓. ยืนตรง แยกเท้าเล็กน้อย
มือกำแนบลำตัว ยืดอก ยกไหล่ขึ้น พร้อมหายใจลึกๆๆ จนสุด แล้วกลั้นลมหายใจไว้
(นับในใจ ๑-๕) เปล่งเสียงออกทางปาก ด้วยคำว่า “เฮ้ย”
ให้สุดสุดเสียง ให้มีความรู้สึกเหมือนกับการขับของเสียของทางปอด โดยให้ทำแบบเดิม
จำนวน ๓ ครั้ง ซึ่งเรียกว่าการลมปราณ
๔. ทุกครั้งของการเคลื่อนไหวในท่ากายบริหาร
ต้องมีสมาธิ กำหนดรู้ถึงการเคลื่อนไหว
ท่ากายบริหารลมปราณ
๑. ยืนตรงแยกเท้าเล็กน้อย ค่อยๆ ยกแขนที่แนบลำตัวออกช้าๆ
เกร็งกล้ามเนื้อออกแรง ให้รู้สึกว่าเสมือนหนึ่งว่ายกถังน้ำขึ้น นับเลขในใจ ๑-๓๐ จนกำปั้นขึ้นมาเสมอ แล้วทำลมปราณ ๓ ครั้ง (ในข้อ
๓ การเตรียมตัว)
๒. เกร็งกล้ามเนื้อแขน
ค่อยๆหงายฝ่ามือขึ้นมาช้าๆ ให้รู้สึกเสมือนว่ากำลังออกแรงผลักประตูหนักๆอยู่ นับ
๑-๓๐ หมุนข้อมือจนกระทั้งฝ่ามือหงายขึ้นเต็มที่ มือเหยียดตรงขนานกับพื้น
แล้วทำลมปราณ ๓ ครั้ง
๓. เกร็งแขนให้ตึงตลอดเวลา
แล้วค่อยๆยกฝ่ามือขึ้นช้าๆ นับ ๑-๓๐ จนประทั้งแขนเหยียดตรง โดยให้แขนแนบที่ลำหู
ฝ่ามือชูขนานกันเหยียดตรงเหนือศีรษะ หายใจลึกๆ ทำลมปราณ ๓ ครั้ง
๔.
เกร็งกล้ามเนื้อค่อยๆ ย่อลง พร้อมแขนทั้งคู่ลงมาลงมาช้าๆ
กำหนดใจให้รู้สึกเสมือนหนึ่งว่า เรากำลังยกกระถางธูปหนักๆ ค่อยๆชะลอลงมา นับ ๑-๓๐
จนกระทั้งฝ่ามือทั้งสองอยู่ในระดับหน้าอก และนั่งยองๆลงไป โดยเท้าราบ
ข้อศอกตั้งขนานเข่า หายใจเข้าเต็มพุง เกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่
เสมือนกำลังเบ่งอุจจาระ จำนวน ๓ ครั้ง
๕. เกร็งกล้ามเนื้อค่อยๆ ยกลำตัวขึ้นช้าๆ
มือทั้งสองข้างขนานกันที่หน้าอก นับ ๑-๓๐
๖. อยู่ในท่ายืน กางขาเล็กน้อยมือ
มือทั้งสองข้างประกบกันอยู่ในระดับหน้าอก หายใจเข้าออกอย่างเร็วทางจมูก
เหมือนกระทิงดุ ฉุนฉียว มือทั้งสองดันผลักกัน เสมือนกำลังกดปริง
แต่สู้แรงกดสปริงไม่ได้ ค่อยๆ กางมือออก ทำจำนวน ๓ ครั้ง
๗. เกร็งกล้ามเนื้อ กางแขนออกทั้งสองสองขนานกับพื้น
ค่อยๆลดแขนลง นับ ๑-๓๐ จนแขนติดลำตัว ครบท่าบริหารร่างกายด้วยพลังลมปราณ
แต่ถึงอย่างไร ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จ
ผู้ที่จะเป็นวิทยากรนำกิจกรรมต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะ จนสามารถถ่ายทอดได้
โดยยังต้องอาศัยหลักฐาน ๔ (น้ำเสียง สายตา ภาษาและท่าทาง)
เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เชื่อมั่นในตัววิทยากร และ เครื่องเสียง ต้องเสียงดัง
ชัด สามารถสื่อสารกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ดี
ข้อพึงระวัง
๑.
ผู้เข้าอบรมต้องมีสุขภาพแข็งแรง สามารถทำกิจกรรมเสริมได้
ผู้เป็นวิทยากรต้องสอบถามก่อน หากมีผู้เข้าอบรม ไม่สามารถทำได้ ต้องไม่บังคบให้ทำ
๒. ยกหนึ่ง มี ๖ ท่า
ใช้เวลา ๑๐ นาที วิทยากรต้องกำหนดระยะให้พอเหมาะกับกิจกรรมอื่นๆ ด้วย
๓. สถานที่ ต้องมีความเหมาะสม โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนได้ในระยะห่าง
๑ ช่วงแขน
๔. วิทยากรผู้นำกิจกรรม
ควรยืนอยู่บนเวทีที่สูง ประมาณ ๑-๒ เมตร เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มองเห็น
ดังนั้นจะเห็นว่า
กิจกรรมเสริมคุณค่าการบริหารร่างกายด้วยพลังลมปราณ
เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่จะเป็นวิทยากรในการนำกิจกรรมภาคเช้าได้
ซึ่งเหมาะกับผู้เข้าอบรมที่เป็นผู้ใหญ่ สามารถทำได้ง่าย และผู้เข้าอบรมสามารถนำไปถ่ายทอด
หากทำเป็นประจำจะทำให้สุขภาพแข็งแรง รักษาโรคได้ จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่ได้ลมปราณ
วันละ ๕ รอบ อาการที่ปวดหลังเรื้อรัง ก็มีอาการดีขึ้น
เสมหะที่อัดแน่นทำให้หายใจไม่สะดวก เมือทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเสมหะ
หายใจได้เต็มปอด
..............................................................................................
เจ้าของความรู้ นายเชิดทวี สูงสุมาลย์
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ (หัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล)
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/43-km
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น