Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

อารมณ์ขันในการพูด ..เสน่ห์นักพัฒนา

เรื่องเล่า  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ได้ดําเนินการฝึกอบรมพัฒนากรก่อนประจําการ เช่น รุ่นที่ ๘๑ หรือรุ่นที่ ๘๔ และผู้นําชุมชน ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรผู้นําระดับพื้นฐาน หรือผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Smart  Leader)   ซึ่งในแต่ละหลักสูตรได้สอดแทรกวิชา  “การพูดในที่ชุมชน” และส่วนมากจะพบว่า..คนพัฒนาชุมชน หรือเครือข่ายผู้นําชุมชนมักจะเป็นคนที่พูดได้ดี สรุปประเด็นได้ แม่นยํา แต่ว่า  ยังพบจุดอ่อนเพียงน้อยนิด ในเรื่องของ ลีลา ท่าทาง และการสอดแทรกอารมณ์ขันในเนื้อเรื่อง ซึ่งผมมองว่า มันเป็นเสน่ห์ของการพูด และในอดีตถือว่าเป็นเสน่ห์ของนักพัฒนาชุนชน กระผมก็ได้มีโอกาสเป็นวิทยากร (ตามที่เล่ามาให้ฟังในเบื้องต้น) และชอบใช้ เทคนิคการพูดอย่างอารมณ์ขัน เช่น พูดด้วยรอยยิ้มอย่างสม่ําเสมอ มีเสียงหัวเราะเมื่อ สอดแทรกมุขต่างๆ ซึ่งทําให้ผู้ฟังไม่เบื่อ ไม่ง่วงนอนและสามารถจดจําคําพูดได้ดี ซึ่งเราในฐานะนักพัฒนาชุมชนสามารถใช้เทคนิคนี้ เสนองานยุทธศาสตร์กรม/จังหวัด หรือการประกอบกิจกรรมต่างๆ ให้ประชาชนได้ สนใจมากยิ่งขึ้นการพูดอย่างอารมณ์ขันต้องเริ่มที่หาข้อมูลก่อนว่าจะพูดให้ใครฟัง อายุ อยู่ประมาณไหนแล้วก็เตรียมเรื่องที่จะพูดและมีประเด็นอะไรบ้าง หาตัวอย่างมาประกอบที่เป็นลูกเล่น   ด้วยอารมณ์ขัน เช่น นิทาน เรื่องตลก กลอนสนุก ๆ หรือยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวให้มากที่สุด เป็นต้น โดยใช้เทคนิคการสร้างอารมณ์ขันคือ อย่าไปบอกก่อนว่าเรื่องที่พูดเป็นเรื่องอะไรอย่าขําเสียเอง อย่าถามผู้ฟังว่าเคยฟังเรื่องนี้หรือยัง อย่ารีบร้อนเปิดเผยตอนสําคัญ เนื้อเรื่องต้องกระชับและใช้น้ําเสียง สายตา ท่าทาง สีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูดกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน
ขุมความรู
   1. เตรียมตนเองให้พร้อม
      -รู้จักมองโลกในแง่ดี จะทําให้ได้มุมมองที่ดีมีความสุข
      -มีความสังเกตและจดจําบันทึก มุขอารมณ์ขัน เช่น ฟังเรื่องตลก อ่านหนังสือ
      -เพาะบ่มไหวพริบปฏิภาณฝึกตนเองให้คิดไหว พูดไหว
   -หมั่นฝึกใช้บ่อย ๆ ทดสอบลูกเล่นตนเองอย่างสม่ําเสมอ เช่นเล่าให้เพื่อนฟัง เป็นต้น 
     -แก้ไขปรับปรุง ประเมินหาข้อผิดพลาด แล้วหาเนื้อใหม่ วิธีการเล่าใหม่แล้วนําทดสอบกับกลุ่มใหม่
   2. เตรียมข้อมูลให้ดีและมีอย่างเพียงพอ เช่น ผู้ฟังอยู่กลุ่มไหน อายุเฉลี่ย ห้องบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่
  3. เตรียมเนื้อเรื่อง  และวางแผนการพูดด้วยการเขียนโครงสร้าง เช่น คํานําจะขึ้นต้นอย่างไรถึงจะ ตตต.(ตอนตื่นเต้น) เนื้อเรื่องต้อง กกก.(กลางกลมกลืน) และสรุปต้อง จจจ.(จบจําใจ)
   4. ใส่ลูกเล่นมุขอารมณ์ขันในเนื้อเรื่องเป็นประเด็น ๆ  โดยการหาตัวอย่างมาประกอบแล้วสอดแทรกมุขอารมณ์ขันที่มีเนื้อหาสาระกับเรื่องที่จะพูด
   5. ฝึกซ้อมให้เสมือนจริง ฝึกพูดให้น้ําเสียง สายตา ภาษาและลีลาท่าทาง กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันกับเนื้อเรื่อง..มีรอยยิ้ม..เสียงหัวเราะ..มีท่าทางที่ชวนตื่นเต้น...จนมีความมั่นใจ
แก่นความรู
   1. ศึกษาหาข้อมูล จดจํา บันทึกและแสวงหามุขอารมณ์ขัน 
   2. เนื้อเรื่องที่จะพูดแยกประเด็นให้ชัดเจนยกตัวอย่างประกอบสอดแทรกอารมณ์ขัน
   3. น้ําเสียง สีหน้า สายตา ท่าทาง ต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
ข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
  1. อารมณ์ขัน ไม่ใช่แก่นการพูด การพูดที่ดีต้องมีเนื้อหาสาระ 80-90% และอารมณ์ขันสอดแทรกอยู่ประมาณ 10-20 %
   2. ต้องดูกาลเทศะ และวิเคราะห์ผู้ฟัง ให้เหมาะสมกับอารมณ์ขันที่จะใช้พูด
   3. อย่าพูดเรื่องส่วนตัว ศาสนา ความเชื่อ ของคนที่ฟังอยู่ที่นั้น
   4. เป็นตัวของตัวเอง ใช่เอกลักษณ์ของตัวเอง อย่าไปเลียนแบบใคร

นายเชิดทวี สูงสุมาล์   ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลชํานาญการ   ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
Tel.085-7532020   Email : cherdtawe@thaimail.com
****ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/4-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น