Powered By Blogger

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

การจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีตกลงราคา

มีข้อคำนึงถึงและขั้นตอนดังนี้
 ๑. หาร้าน/ห้างหุ้นส่วน/บริษัทอย่างน้อยจำนวน  ๓  แห่ง
 ๒. เลือกร้าน/ห้างหุ้นส่วน/บริษัท ที่เสนอราคาถูกที่สุด
 ๓. จัดทำบันทึกข้อความ เสนอผู้บังคับบัญชาให้ความเห็นชอบ  อนุมัติ
 ๔. จัดทำบันทึกรายงานจัดซื้อ/จัดจ้างตามระเบียบ พร้อมแนบใบเสนอราคาที่ได้เลือกร้าน/ห้างหุ้นส่วน/บริษัท ที่เสนอราคาถูกที่สุด พร้อมจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ จะใช้เป็นคำสั่ง หรือขอใช้บันทึกแทนคำสั่งก็ได้ วงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐.-บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจรับพัสดุ ๑ คน แต่ถ้าเกิน ๑๐,๐๐๐.-บาท แต่งตั่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ๓ ๕ คน
 ๕. จัดทำใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างเพื่อให้ผู้ขายลงลายมือชื่อ การสั่งซื้อต้องส่งของภายใน ๓ วันนับจากวันที่สั่งซื้อ และใบตรวจรับพัสดุ หากผู้ขายส่งของไม่ครบถ้วนตามใบสั่งซื้อเป็นหนาที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุรายงานผู้บังคับบัญชาต่อไป
 ๖. เมื่อผู้ขายส่งของเสร็จครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่ได้รับการแต่งตั่ง ตรวจนับของ เสร็จแล้วให้คณะกรรมการตรวจรับรายงานการตรวจรับพัสดุ
 ๗. เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานการขออนุมัติเบิกเงินโดยแนบหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องตามระเบียบพัสดุ(เช่นเรื่องเดิมคือบันทึกการจัดซื้อ/จัดจ้างรายงานใบตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการ,ใบส่งของ,และใบเสนอราคา)
 ๘. ถ้าหากการจัดซื้อ/จัดจ้างวงเงินไม่ถึง ๕,๐๐๐.-(ห้าพันบาทถ้วน) เมื่อผู้บังคับบัญชาอนุมัติแล้ว นำส่งหลักฐานการขอเบิกเงินทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่การเงินดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเจ้าหน้าที่พัสดุลงในทะเบียนคุมนำส่งหลักฐานให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามรับหลักฐานไว้เพื่อเบิกจ่ายต่อไป
 ๙. ในกรณีวงเงินเกิน ๕,๐๐๐.-บาท (ห้าพันบาทถ้วน) เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องดำเนินการจัดทำใบสั่งซื้อ (PO) ในระบบ egp (การเบิกจ่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์)
จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
          เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุในหน่วยงานของรัฐ มีความสำนึกในการปฏิบัติงานควรประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ดังนี้
 ๑. วางตัวเป็นกลางในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุ
 ๒. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึก ด้วยความโปร่งใน สามารถให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทุกเวลา
 ๓. มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง พัฒนางาน โดยเรียนรู้ถึงเทคนิควิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มเติม อยู่เสมอ และนำมาใช้ปฏิบัติงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
 ๔. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือกฎหมาย กฎ ระเบียบปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด
 ๕. ดำเนินการให้มีการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและให้เกินประโยชน์สูงสุด
 ๖.  คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานเป็นหลัก ถูกต้อง  ยุติธรรม และความสมเหตุสมผลประกอบ
 ๗. ปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานด้วยความเอาใจใส โดยให้ความร่วมมือช่วยเหลือในเรื่องการให้ความคิดเห็นตามหลักวิชาการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน และการพัฒนางาน
 ๘. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากผู้ขาย ผู้รับจ้าง
 ๙. ปฏิบัติต่อผู้ชาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่เข้ามาติดต่อกับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ
 ๑๐. ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการเสริมสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ผู้เขียน    นางวนิดา   เตนากุล
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไดที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/14-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น