Powered By Blogger

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การใช้สื่อ PowerPoint ในการนำเสนอ

          Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับกันและใช้ประกอบในการนำเสนอทั่วไป ซึ่งสามารถการนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ ทั้งเพิ่มช่องทางการรับรู้ด้วยภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง สร้างบรรยากาศการนำเสนอโดยการรับรู้จากประสาทสัมผัสมากขึ้น ในส่วนของผู้นำเสนอเอง PowerPoint ช่วยสื่อความเข้าใจในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ช่วยเตรียมการนำเสนอไว้ล่วงหน้าลำดับการนำเสนอมีความชัดเจน ไม่วกไปวกมา ช่วยสรุปประเด็นสำคัญ ทำให้การนำเสนอมีมาตรฐานเดียวกันเกิดความเชื่อมั่นในการนำเสนออีกทั้งยังผลิตได้ง่าย แต่ปัญหาที่มักพบในการการใช้สื่อ PowerPoint ในการนำเสนอ คือ เราคิดว่าที่เราทำมาดีอยู่แล้วและเราไม่รู้ว่าไม่ดีอย่างไรดังนั้น PowerPoint ที่ดีควรเป็นอย่างไร
         ๑. สไลด์ไม่ควรมีจำนวนแผ่นข้อความต่อแผ่นศัพท์เทคนิคสัญลักษณ์พิเศษตัวแปรคณิตศาสตร์ที่ไม่มาตรฐานศัพท์ภาษาต่างประเทศศัพท์ราชบัณฑิตที่ไม่คอยนิยม มากเกินไป โดยมีเรื่องหลักเพียงเรื่องเดียวในสไลด์วางสไลด์ในแนวนอนเสมอมีความต่อเนื่องควรมี รูป กราฟ หลีกเลี่ยงการใช้ตารางอย่าใช้สไลด์จนถึงขอบอย่าใส่รูปฉากหลังที่เคลื่อนไหว และมีลวดลายมากควรทำให้อ่านง่ายไม่ต้องให้ศัพท์ทางการมากแต่ขอให้ถูกกาละเทศะไม่ต้องใส่ประโยคเต็มควรตัดคำออกให้มากที่สุดโดยไม่เสียเนื้อความคำศัพท์ที่เยิ่นเย้อทำให้การอ่านน่าเบื่อควรตรวจสอบตัวสะกดเป็นอย่างดีไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ ถ้าหากผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นคนไทยการใช้ภาษาอังกฤษอย่างผิดๆจะทำให้ผู้ฟังที่เป็นเจ้าของภาษารำคาญ
          ๒. ภาพพื้นหลัง(Template) ควรหลีกเลี่ยง Template ทั่วไปที่ใครๆก็ใช้กัน เพราะ เกิดความน่าเบื่อ ไร้สีสัน  ไม่มีเอกลักษณ์ จงสร้างเอกลักษณ์ของเราเอง ถ้าทำ Template เองไม่ได้ อาจหาได้จาก  www.free-power-point-templates.com หรือเว็บไซต์ที่มีบริการ ควรใช้ชุดสีใช้ “ฟอนต์” และ “สี” ที่เหมาะสมตามที่ template ให้มา อย่าใช้หลายแบบเพราะจะทำให้ผู้ฟังไปสนใจเรื่องอื่น   เพราะเราต้องให้ผู้ฟังจดจ่อกับ “เรื่องที่นำเสนอ”ไม่ใช้ให้เขาจดจ่อต่อ “วิธีการนำเสนอ”
          ๓. ตัวอักษร (Font) แต่ละสไลด์ไม่ควรมีเนื้อหาเกิน ๖ บรรทัด แต่ละบรรทัดหากใช้เพียง ๕ คำได้ถือว่ายอดเยี่ยม หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย อย่าใช้ Font หลายแบบ อย่างมาก ๒ font ต่อ slide ตัวหนังสือควรจะอ่านง่ายและชัดเจน ไม่บางเกินไปและภาษาไทยกับอังกฤษควรจะตัวเท่ากัน หาต้องการหลีกเลี่ยงความจำเจลองเปลี่ยน font ที่เคยใช้บ้าง แต่ทั้งนี้ขอแนะนำ ๔font มาตรฐานที่มักนิยมใช้ คือAngsana UPC,BrowalliaNew,ThSarabun New และ Cordia New ในการใช้อักษรภาษาอังกฤษควรหลีกเลี่ยงอักษรพิมพ์ใหญ่ เพราะอ่านยาก ควรใช้เฉพาะคำย่อ และไม่ควรใช้เน้นคำ ส่วนการใช้ตัวเอียงใช้สำหรับคำพูดที่อ้างจากผู้อื่น เน้นแนวคิดหรือคำสำคัญและใช้สำหรับชื่อเอกสารอ้างอิง
          ๔.Bulletsการทำ bullet ไม่จำเป็นต้องใส่ประโยคเต็มอย่างละเอียด ให้ใส่เฉพาะคำสั้นๆ กระชับใช้เป็นแนวบอกผู้ฟังว่าจะพูดอะไรเท่านั้นควรอยู่ภายในบรรทัดเดียวหรือสองบรรทัดอย่างมากในหนึ่งหน้า
ไม่ควรมีเกิน ๖ bulletsถ้ามีรูปหรือคำยาวๆ ก็ไม่ควรมีเกิน ๕bulletsขนาดของ bullet แรกไม่ควรเล็กกว่า ๒๘ ขนาดของ bullet ที่สองไม่ควรเล็กกว่า ๒๔ ไม่ควรใช้ bullet ขนาดเล็กกว่า ๑๖ ในทุกกรณี
           ๕. การใช้สีพื้นและสีตัวอักขระตัวหนังสือขาวบนพื้นดำจะไม่ดีสำหรับห้องขนาดผู้ฟังหลังห้องไกลกว่า ๒๐ฟุต ( ๖เมตร)อย่าใช้ฟอนต์สีเข้มบนพื้นเข้มอย่าใช้ฟอนต์สีอ่อนบนพื้นสีอ่อนอย่าใส่สีพื้นเข้มในห้องมืดแสงจากฉากหลังสีขาวมีพลังงานมากกว่าแสงจากตัวหนังสือสีขาวการใช้พื้นหลังเป็นสีเข้มช่วยลดแสงสว่างจากจอฉาย  ทำให้รู้สึกสบายตามากกว่าการใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง  ช่วยลดความล้าของสายตา หากต้องเพ่งมองนาน ๆสำหรับการบรรยายทั่วไปที่ไม่ได้เปิดให้ผู้ชมจ้องนาน ๆ ก็สามารถเลือกใช้พื้นหลังสีอ่อนได้ ส่วนการใช้พื้นหลังเป็นสีเข้มหากเป็นสีโทนร้อนจะทำให้รู้สึกแสบตาเกิดความล้าของสายตาเมื่อต้องเพ่งมองนาน ๆ
            ๖. การเลือกใช้ Effect และ Transitionควรเลือกใช้พอเหมาะ ไม่ควรเลือกใช้เกิน ๓แบบในแต่ละสไลด์
    ๗. ภาพประกอบควรถามตัวเองว่า “ใส่แล้วดีขึ้นหรือไม่”มิฉะนั้น จะเป็นตัวดึงความสนใจออกไป
ควรจะต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราพูดถึงเท่านั้น ไม่ใช่ใส่เพราะความสวยงามของภาพ ควรเลือกภาพที่มีความละเอียดใกล้เคียงหรือมากกว่าจอโปรเจ็คเตอร์( ขนาด ๖๐๐X๘๐๐) เนื่องจากภาพที่มีขนาดเล็กจะทำให้ภาพไม่ชัด ถ้าใส่ภาพเกือบเต็ม ก็ควรให้เต็มและข้อระวังคือ อย่ายึด-หดภาพ จนเสียขนาด รูปทรง(รูปบุคคล ต้องระวังมากพิเศษ) หากจำเป็นต้องใส่อักษร ควรให้มีพื้นหลังรองรับกรณีต้องใช้ Diagram ควรเป็นมาตรฐานจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้นDiagram ไม่มาตรฐานมักจะส่งผลถึงหายนะในการอธิบาย กรณี  Diagram มีรายละเอียดมากควรใช้ โปรแกรมช่วยซูม เช่น Zoom itหรือ ตัดแบ่ง Diagram เป็นหลายสไลด์ แต่ต้องมีภาพรวม.
 ในขั้นนำเสนอนั้น ควรระวัง ตั้งแต่การ copyใส่ thrum drive :ซึ่งอาจต้องสำรองฝากไว้ในระบบอินเตอร์เน็ต ตรวจสอบโปรแกรม ว่าPowerPoint บนเครื่องที่จะใช้ว่ามีเวอร์ชั่นกับของเราหรือไม่ดังนั้นในกรณีของเราเวอร์ชั่นสูงกว่า ควรบันทึกเป็นเวอร์ชั่นต่ำกว่าไว้อีกไฟล์เสมอ  กรณี font ที่เราใช้ มีในเครื่อง หรือไม่(กรณีนี้แก้ปัญหาโดยการฝัง font :ซึ่งมีในคำสั่งโปรแกรม เวอร์ชั่น ๒๐๐๗ ขึ้นไป)  ตรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จัด Desktop เลือกภาพBackground ซึ่งควรมี ทิวทัศน์ ที่สบายตาหรือมีเส้นสายตาเป็นBackground (ไม่ควรเป็นภาพบุคคล) ปิดหรือตรวจสอบระบบPower Managementและ ภาพพักหน้าจอเพื่อป้องกันเครื่องปิด/พัก ขณะนำเสนอ เตรียมpointer ที่เหมาะสม(ไม้ชี้, laser) และไม่ควรแจกเอกสารที่พิมพ์จาก PowerPointในตอนท้ายสุด เนื่องจาก การแจกก่อนการนำเสนอจะทำให้ผู้รับการนำเสนอสนใจเอกสารไม่ให้ความสนใจผู้นำเสนอเท่าทีควร 
 พึงระลึกว่า PowerPoint คือ อุปกรณ์เสริมการนำเสนอไม่ใช่ ตัวหลักของการเสนอ  อย่าให้สไลด์กลายเป็นเอกสารวิชาการคิดว่าเราคือ อาร์ตไดเรคเตอร์ โดยคิดในมุมผู้รับการนำเสนออย่าอ่าน PowerPoint ถ้าอ่านผู้เข้ารับการนำเสนอมักคิดว่า ส่งให้เขาไปอ่านเอาเองดีกว่าเข้ารับการนำเสนอ และอย่าให้สไลด์โดดเด่นกว่าตัวผู้นำเสนอผู้เข้ารับการนำเสนอเข้ารับการนำเสนอจากผู้นำเสนอไม่ใช่ PowerPoint

ผู้บันทึกความรู้
นายนราธิป  สุวรรณวงศ์     นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด     ฝ่ายวิชาการ     ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/28-km-powerpoint

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น