Powered By Blogger

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเป็นวิทยากรที่ดีต้องบริหารเวลา

๑) เกริ่นนำ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชน หลักสูตร ผู้นำการพัฒนา ซึ่งในหลักสูตรได้สอดแทรกวิชา การเสริมสร้างบุคลิกภาพผู้นำ และส่วนมากจะพบว่า ผู้ที่เป็นวิทยากร การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชน มักจะเป็นคนพูด สรุปประเด็น แต่ว่า ยังพบจุดอ่อนเพียงน้อยนิดในเรื่องของการบริหารเวลากับเนื้อเรื่อง ซึ่งผมมองว่า มันเป็นการใช้เวลา อย่างสูญเปล่า ผมก็ได้มีโอกาสเป็นวิทยากร และก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นวิทยากร หรือผู้ร่วมกิจกรรม ก็จะทำการศึกษาเนื้อหา วิชาที่จะทำการส่งเสริม โดยศึกษาวัตถุประสงค์ เป้าหมายของเนื้อหา จดบันทึกเรียงลำดับกิจกรรมในวิชานั้นๆ ทำความเข้าใจถึงวิธีการจัดกิจกรรม แบ่งหน้าที่ให้กับทีมงาน หรือคิดค้นหาวิธีการที่จะร่นเวลาในการทำกิจกรรมให้เสร็จสิ้นเร็วขึ้น การบริหารเวลานั้น มีอยู่หลายประการ ซึ่งเราสามารถจัดสรรเวลาให้กับกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น และกิจกรรมเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายตามที่เรากำหนดเอาไว้
๒) ขุมความรู้
     บริหารเวลาอย่างไรที่จะทำให้การดำเนินกิจกรรมนั้นสำเร็จ
     ๒.๑ การกำหนดเป้าหมาย เป้าหมายของแต่ละกิจกรรมนั้นมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่กิจกรรมที่จะทำการส่งเสริม หรือให้ความรู้ โดยให้ระมัดระวังการกำหนดเป้าหมาย ไม่ให้เป้าหมายคลุมเครือ เป้าหมายต้องมีความชัดเจน สามารถวัดผลได้
      ๒.๒ ศึกษาเครื่องมือในการที่จะจัดกิจกรรมอย่างละเอียด และเข้าใจในกระบวนการของกิจกรรมนั้นให้ชัดเจนเป็นขั้น เป็นตอน
      ๒.๓ การเตรียมเนื้อหา ความรู้ ต้องชัดเจน การใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ใช้เวลาที่เหมาะสมกับเนื้อหาของกิจกรรม รวมทั้งการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อกิจกรรม
      ๒.๔ การสร้างจินตนาการให้เห็นภาพพจน์ ในบางกิจกรรมที่เข้าใจยาก ควรยกตัวอย่างประกอบให้เห็นเป็นรูปธรรม
      ๓.๕ การจดบันทึกกิจกรรม ควรแบ่งกิจกรรมนั้นออกเป็นลำดับก่อน-หลัง จัดเป็นหมวดหมู่ ซึ่งมีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมนั้นๆ ตามเป้าหมายของกิจกรรม และทำการวิเคราะห์กิจกรรมที่ทำ คือการหาสาเหตุของการบริหารเวลาของกิจกรรมที่ไม่ถูกต้อง แล้วทำการแก้ไขปัญหา และหาวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา โดยการฝึกฝนพฤติกรรม จนพฤติกรรมนั้นกลายเป็นนิสัยที่ถาวร
      ๓.๖ การสรุปให้กระชับจับใจ นำประเด็นสำคัญๆ ของกิจกรรมมาสรุป
๓) แก่นความรู้
         การเป็นวิทยากรต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ในวิชา หรือกิจกรรมที่จะทำการส่งเสริม หรือให้ความรู้ และถ้ามีการแบ่งกลุ่ม จะต้องมีทีมงาน และแบ่งหน้าที่ให้ทีมงาน ทำความเข้าใจกับทีมงาน ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บริหารเวลาของแต่ละทีมให้เท่ากัน ลำดับกิจกรรม ตามเวลาที่บันทึกเอาไว้

ผู้บันทึกความรู้  นายพยุงศักดิ์  ศรีระพรม  ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ      ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี  ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี  โทร.0-๔๒๒๔-๗๗๘๕
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/23-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น