Powered By Blogger

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พิธีกรงานฝึกอบรม

       พิธีกรหรือ MC มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Master of Ceremony ในความหมายของพิธีกร  หมายถึง ผู้ดำเนินรายการในงานพิธีการต่างๆ คือ พิธีกรจะกระทำหน้าที่ ที่เป็นเจ้าของเวทีและทำหน้าที่กำกับรายการ อีกความหมายหนึ่งของพิธีกรว่าพิธีกร (Master of Ceremony:MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่างๆ เป็นบุคคลทำหน้าที่ กำกับ/นำ/อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการ หรือพิธีการต่างๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ และกำหนดการที่วางไว้ให้สำเร็จได้อย่างราบรื่น” (สมชาติ กิจยรรยง, 2555 : 76)
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการฝึกอบรม ของกรมการพัฒนาชุมชน จึงมีบุคคลากรที่สามารถเป็นพิธีกร และมีประสบการณ์ การเป็นพิธีกรฝึกอบรมมาหลายโครงการ ตั้งแต่ปี พ.. 2553 จนถึงปัจจุบัน จึงถือเป็นผู้ที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญในงานพิธีกรฝึกอบรมเป็นอย่างดี บุคคลผู้นั้น คือ นายนราธิป สุวรรณวงศ์ ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
          ดังนั้น เพื่อเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge Management) พิธีกรงานฝึกอบรม เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับผู้สนใจศึกษาและจะต้องรับหน้าที่พิธีกรในงานฝึกอบรม จึงได้จัดทำบันทึกองค์ความรู้ของนายนราธิป สุวรรณวงศ์ เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้สนใจต่อไป
ขอบเขตของความรู้  “การเป็นพิธีกรงานฝึกอบรม
เป้าหมายของการจัดการความรู้
1. เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่จะต้องรับหน้าที่พิธีกรงานฝึกอบรม
2. เพื่อให้องค์กรและผู้สนใจสามารถนำความรู้นี้ไปใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนงานให้รวดเร็ว และเข้าใจง่ายมากที่สุด
เส้นทางสู่ความสำเร็จของพิธีกร
1. ข้อมูลที่พิธีการจะต้องเตรียมให้พร้อม ได้แก่
1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.2 กำหนดการ
1.3 พิธีการสำคัญและขั้นตอน โดยละเอียด
1.4 ชื่อประธานพิธีเปิด-ปิด
1.5 ชื่อวิทยากรและประวัติวิทยากร
1.6 การเข้าที่พัก
1.7 การรับประทานอาหาร
1.8 ข้อมูลการให้บริการเรื่องการรักษาพยายาล หากเกิดการเจ็บป่วย
1.9 ข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2. การซักซ้อมที่ดี โดยเฉพาะชื่อของประธานในพิธีเปิด-ปิด และต้องจดจำข้อมูลสำคัญให้ได้ เมื่อลดความประหม่า
3. การแต่งกาย เป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ ในการเป็นพิธีกรงานฝึกอบรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากขณะที่พิธีกรยืนพูดอยู่หน้าเวทีนั้น จะเป็นที่จับจ้องของผู้เข้าอบรม ดังนั้น การแต่งกาย จึงมีความสำคัญมาเป็นอันดับแรกและจะต้องถูกกาลเทศะด้วย
4. มีท่าทางที่กระตือรือร้น โดยการแสดงคำพูดอย่างคล่องแคล่ว ไม่เฉื่อยชา ฟังน่าตื่นเต้น แต่ไม่ควรใช้ไม้ใช้มือมากเกินไป
5. การใช้ภาษา ควรใช้น้ำเสียงที่สุภาพ นุ่มนวนเป็นธรรมชาติ ไม่พูดเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป พูดสร้างความเป็นกันเองต่อผู้เข้าอบรมและสามารถโน้มน้าว ให้ผู้เข้าอบรมเกิดความอยากรู้และสนใจในโครงการ
6. ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความสำคัญไม่แพ้ข้ออื่นที่กล่าวมา เนื่องจากทักษะนี้จะเกิดขึ้นจากการสั่งสมประสบการณ์ ที่ฝั่งแน่นอยู่ในตัวบุคคล เกิดจากการต้องแก้ไขปัญหาบ่อย ๆ ทักษะนี้จึงจะเกิดขึ้นมาในตัวบุคคล ดังนั้นจึงต้องอาศัยระยะเวลาและการฝึกฝนด้วย
หลักการและทษฎีที่เกี่ยวข้อง
          นายนราธิป สุวรรณวงศ์ ได้ใช้หลัก 4 ฐานการเรียนรู้ เรื่อง การพูดในที่ชุมชน ได้แก่ น้ำเสียง สายตา ภาษา ท่าทางที่มีโอกาสได้ไปรับหลักสูตรจากกรมการพัฒนาชุมชน ที่จะนำความรู้มาถ่ายทอดแก่ผู้นำชุมชน จึงเป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้นี้มาพัฒนาตนเอง
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา
ที่
ปัญหาอุปสรรค
วิธีการแก้ปัญหา
1.
พิธีเปิด ผู้เข้ารับการอบรมมาไม่ตรงเวลา ทำให้ที่นั่งสำหรับผู้เข้าอบรมว่าง ไม่เกิดความพร้อมเพรียง
จัดที่นั่งให้ดูเหมาะสมกับสถานที่ไม่ให้ที่นั่ง ว่างจนเกินไป
2.
ประธานในพิธีเปิดบรรยายเกินเวลา ทำให้กินเวลาของวิทยากรชั่วโมงถัดไป
ประสานปรับเปลี่ยนกำหนดการกับวิทยากร ที่มีผลกระทบ
3.
วิทยากรมาถึงสถานที่ฝึกอบรมเวลากระชั้นชิด มีโอกาสผิดพลาดในการแนะนำตัววิทยากรสูง
ใช้คำพูดดังนี้ เชิญวิทยากรที่จะมาให้ความรู้ใน วิชา…..” เรียนเชิญครับ (ไม่แนะนำชื่อ)
4.
ขาดทีมงานที่เป็นผู้ประสานงานต่าง ๆ เช่น รายชื่อแขกผู้มีเกียรติ รายชื่อวิทยากร และทีมวิทยากร เป็นต้น
อาศัยคำสั่งแบ่งงานของทีมฝึกอบรม ระบุตัวบุคคลที่จะต้องรับหน้าที่ชัดเจน
5.
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องการเร่งกระบวนการ กระทันหันประสานงานกับวิทยากรรายวิชาที่มีผลกระทบ



เทคนิคพิเศษ
          นายนราธิป สุวรรณวงศ์ ใช้เทคนิคที่จะทำให้การเป็นพิธีกรดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่สะดุด นั่นคือการจดและจำโดยจะทำการจดบันทึกข้อมูลสำคัญในกระดาษแผ่นเล็ก ๆ จึงต้องมีกระดาษ และปากกาติดตัวตลอดเวลา และจดจำสาระสำคัญ ให้แม่นยำ เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาด
ข้อสรุป
          การที่จะก้าวไปสู่การเป็นพิธีกรงานฝึกอบรม ที่ประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องมีองค์ประกอบ         หลาย ๆ อย่างในตัวผู้รับหน้าที่พิธีกรเอง ผู้ถอดองค์ความรู้จึงขอสรุปเป็นภาพประกอบ ที่จะทำให้เข้าใจมากขึ้นในเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

ผู้จัดทำองค์ความรู้
นางสาวชวลัย  ทุมมานอก      นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล    ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/24-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น