Powered By Blogger

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิทิสาสมาธิกับการฝึกอบรม

แก้ไขปัญหาให้ผู้เข้าอบรมมีความพร้อมในการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ
............................................................................................
          การดำเนินการฝึกอบรมก็เป็นกระบวนการหนึ่งซึ่งมุ่งก่อให้เกิด การเรียนรู้ ของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่มีต่องานของบุคลากร ดังนั้น วิทยากร จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วิทยากรต้องมีสามารถในการสื่อสาร โน้มน้าว กระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคนิค วิธีการ เช่น เพลง เกม วีดิทัศน์ ฯลฯ
          ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน( ปี ๒๕๕๘) ที่ได้เป็นวิทยากรให้กับบุคลลากรทั้งของกรม ฯ ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรอย่างมากมาย ร่วมทั้งได้มีโอกาสเป็นวิทยากรให้กับสถาบันพลังจิตตานุภาพ จะพบว่าผู้เข้าอบรมมีความหลากหลายทั้งทางด้านความคิด มีอคติที่ดี และไม่ดีต่อการเข้ารับการฝึกอบรม ดังนั้นการให้ผู้เข้าอบรมได้มีความพร้อมต่อการฝึกอบรม โดยเฉพาะต่อการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งการให้ทำสมาธิก่อนเข้าสู่เนื้อหา วิชาการ ครั้งละ ๕-๑๐ นาที หรือที่เรียกว่า วิทิสาสมาธิ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้คลายกังวล และเป็นการเตรียมความพร้อมของสมองก่อนการอบรม ดังนี้  ๑. การสร้างบรรยากาศให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงดัง เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากที่สุด
          ๒. ทุกคนสวดมนต์เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่ง
          ๓. หลับตาโดยการกำหนดจิตไว้ที่ฐานจิต ซึ่งมีอยู่ ๕ ฐาน แล้วบริกรรม (เป็นการท่องคำที่กำหนดไว้ในใจ) คำว่า พุท-โธ ไปเรื่อย ๆ โดยให้จิตจดจ่ออยู่ที่คำบริกรรม จนครบตามที่วิทยากรกำหนด ควรจะอยู่ที่ ๕ ๑๐ นาที
          ๔. หลังจากนั้นให้ผู้เข้าอบรมได้แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งการแผ่เมตตา จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน เกิดการยอมรับ ส่วนมากข้าพเจ้าก็จะต่อด้วยกิจกรรมให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน
          การที่จะให้ผู้เข้าอบรมได้ทำสมาธินี้ จะใช้อิริยาบถก็ได้ไม่ว่าจะเป็นการยืน นั่งเก้าอี้ หรือนั่งพื้น และที่สำคัญวิทยากรจะต้องมีความรู้ในเรื่องการทำสมาธิด้วย ที่จะให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือตอบข้อสงสัยได้
          การทำสมาธิก่อนเข้าสู่เนื้อหาวิชาการ เป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ทำให้การทำงานของสมองทั้งซีกซ้าย ขวา มีจิตจ่อต่อการเรียนรู้ ดังนั้นบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรสามารถนำไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ได้

ผู้บันทึกความรู้
นายเชิดทวี สูงสุมาลย์   นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล   ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
Mail : cherdtavee@hotmail.co.th 
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/25-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น