Powered By Blogger

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วิธีการอ่านแบบบ้านเบื้องต้น



ส่วนนำ
แบบบ้าน หรืออาจจะเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น แบบก่อสร้างบ้าน แบบแปลนบ้าน พิมพ์เขียวก่อสร้างบ้าน นั้นเป็นเอกสารซึ่งผู้ออกแบบซึ่งเป็นสถาปนิก ได้จัดทำขึ้น ร่วมกับวิศวกร เพื่อบ่งบอกรายละเอียด ของบ้านเพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างได้ใช้เป็นแบบในการก่อสร้างให้กับเจ้าของบ้าน ซึ่งบ่อยครั้งแบบบ้าน จะมีการใช้ศัพท์เทคนิคในการบ่งบอกคุณลักษณะและรายละเอียด ซึ่งบางครั้งเจ้าของบ้านเองซึ่งไม่ได้อยู่ในแวดวงการก่อสร้างไม่สามารถทราบได้ว่า แบบบ้านที่ตนเองได้รับมานั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะได้นำเสนอวิธีการอ่านแบบบ้านเพื่อให้ได้ทราบรายละเอียดต่างๆ ของบ้านที่จะสร้างอย่างคร่าวๆ
ส่วนขยาย
          ก่อนอื่นคงจะเริ่มต้นจากส่วนประกอบของแบบบ้านซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแบบบ้านพักอาศัย โดยส่วนประกอบของแบบบ้านจะประกอบไปด้วย
     1. ส่วนประกอบของแบบบ้านพักอาศัย
           1.1 แบบสถาปัตยกรรม
           เป็นรายละเอียดที่สถาปนิกจะเป็นผู้จัดการในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการออกแบบตัวบ้าน ขนาดจำนวนห้อง รวมถึงความสวยงามหน้าตาของบ้าน เช่นแบบผังห้อง รูปด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างของตัวบ้าน แบบประตู หน้าต่าง บันไดบ้าน
1.2 แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
           เป็นรายละเอียดในส่วนโครงสร้างความแข็งแรงของตัวบ้าน งานส่วนนี้วิศวกรโครงสร้าง(โยธา) จะต้องเป็นผู้ออกแบบ โครงสร้างเพื่อรองรับแบบสถาปัตยกรรมซึ่ง สถาปนิคได้ออกแบบมา แบบวิศวกรรมโครงสร้างประกอบไปด้วย แบบฐานราก แบบคาน แบบเสา แบบโครงสร้างหลังคา แบบพื้น และงานเหล็กต่างๆ
           1.3 แบบวิศวกรรมไฟฟ้า
           เป็นรายละเอียดในส่วนงานระบบไฟฟ้า ทั้งระบบไฟฟ้าและระบบแสงสว่าง สำหรับงานส่วนนี้สำหรับแบบบ้านอยู่อาศัยทั่วไป อาจจะออกแบบโดยวิศวกรรมโครงสร้างได้ เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนถึงระดับที่ต้องใช้วิศวกรไฟฟ้าแต่อย่างใด
           1.4 แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล
           เป็นรายละเอียดของส่วนงานด้านสุขาภิบาล เช่นระบบน้ำทิ้ง น้ำดี ระบบประปา
     2. สัญลักษณ์ที่ปรากฏในแบบบ้าน
2.1 สัญลักษณ์พื้นผิว
2.2 สัญลักษณ์เส้นบอกระยะแบบบ้าน
2.3 สัญลักษณ์รูปตัดและแบบขยาย
2.4 สัญลักษณ์รูปด้าน
2.5 สัญลักษณ์ประตู
2.6 สัญลักษณ์ผนัง
2.7 สัญลักษณ์ประกอบห้อง
2.8 สัญลักษณ์หน้าต่าง
บทสรุป
ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ที่จะสร้างบ้านหรือเจ้าของบ้านก็ควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแบบก่อสร้างด้วยตนเอง ปัจจุบันก็มีการเผยแพร่มากมายทั้งหนังสือ และอินเตอร์เน็ท ใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ เพื่อจะได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านแบบบ้านเบื้องต้น ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

เจ้าของความรู้ นางนิรมล พรหมน้อย
ตำแหน่ง นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี 
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่นี่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/36-km

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น