ความเป็นมา
กรมการพัฒนาชุมชน
โดยสถาบันการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ดำเนินงานโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ ผู้นำการพัฒนา”เป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ เป็นต้นมา
ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น ๑,๒๖๓
รุ่น ๒,๐๑๓ ตำบล ๙๓,๑๖๔ คน และกำหนดให้มีการติดตามประเมินผลโครงการฯ
โดยการสุ่มตัวอย่างผู้นำชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมฯ ระหว่างปี ๒๕๕๑ -๒๕๕๘ จำนวน ๓๙๘ คน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
มีหน้าที่ในการให้บริการงานพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
จำนวน ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัด อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น และสกลนคร ได้ดำเนินงานโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ ผู้นำการพัฒนา” มาตั้งแต่ ปีงบประมาณ ๒๕๕๑
จากการสุ่มตัวอย่าง
การติดตามประเมินผลโครงการฯ
มีผู้นำชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการติดตามจัดเก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ จำนวน ๕๒
คน โดยมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรฏาคม ๒๕๕๙
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
ได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ / นักวิชาการ / นักทรัพยากรบุคล
ที่เป็นบุคลากรของศูนย์ฯ
ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลผู้นำชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
โดยการแบ่งทีมงานในการดำเนินการ เป็น ๕ ทีมๆละ ๒ คน
และแบ่งการรับผิดชอบจัดเก็บข้อมูลฯ ตามพื้นที่ของจังหวัดในเขตบริการ ๗ จังหวัด
และเพิ่มจังหวัดกาฬสินธุ์ อีก ๑ จังหวัด รวมเป็น ๘ จังหวัด ซึ่งแต่ละทีมรับผิดชอบจัดเก็บข้อมูลผู้นำชุมชน
กลุ่มเป้าหมายเฉลี่ย ทีมละ ๙ - ๑๒ คน
ในการดำเนินงานครั้งนี้
ข้าพเจ้า ได้ร่วมเป็นคณะทำงานติดตามจัดเก็บข้อมูลผู้นำชุมชน ในพื้นที่จังหวัด
หนองบัวลำภู และจังหวัดเลย มีผู้นำชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๙ คน
เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จ และเกิดประโยชน์ต่อทางราชมากที่สุด
ข้าพเจ้าและทีมงาน จึงได้วางแผนและเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานร่วมกัน ดังนี้
การดำเนินงาน
เริ่มจากการคัดเลือกผู้นำชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
ที่มีรายชื่อในทะเบียนรายชื่อผู้นำชุมชน ที่เคยผ่านการฝึกอบรมตามโครงการฯ
ซึ่งสถาบันการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างไว้แล้ว และตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรายชื่อผู้นำชุมชน
ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ว่ายังคงอยู่ในพื้นที่เดิมหรือไม่
โดยการประสานกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อมูล
หากพบว่า ผู้นำดังกล่าวไม่อยู่แล้ว หรือไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ได้
ก็จะเปลี่ยนเป็นผู้นำท่านอื่น ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการฯ
ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ตามทะเบียนรายชื่อที่สถาบันการพัฒนาชุมชนกำหนดไว้
เมื่อตรวจสอบ ได้รายชื่อผู้นำกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องชัดเจนแล้ว
ก็จะวางแผนกำหนดวัน/เวลา ในการออกติดตามจัดเก็บข้อมูลฯ
โดยจะคำนึงถึงระยะเวลาในการเดินทาง เนื่องจากผู้นำชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น
ต่างอยู่กันคนละพื้นที่อำเภอ / จังหวัด ข้าพเจ้าและทีมงาน จะต้องศึกษาข้อมูลการเดินทาง
ว่าเส้นทางที่จะไปนั้น อยู่ใกล้หรือไกลเพียงใด
มีเส้นทางที่ผ่านพื้นที่เป้าหมายกี่เส้นทาง
โดยเลือกเส้นทางที่สะดวก ปลอดภัย และใช้ระยะเวลาในการเดินทางที่สั้นที่สุด
เพื่อให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทันตามกำหนดเวลา
ในการติดตามจัดเก็บข้อมูลฯ
ในครั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ประจำอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการดำเนินงาน
ดังนั้น ข้าพเจ้าและทีมงานจึงศึกษาหาข้อมูล ชื่อ ตำแหน่ง เบอร์โทรศัพท์
ของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ประจำอยู่ในพื้นที่เป้าหมายว่าเป็นใคร
และสามารถติดต่อประสานงานได้ทางใดบ้าง เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว
ก็ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่
โดยชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน แจ้งให้ทราบว่า จะทำอะไร อย่างไร
พร้อมกับตรวจสอบฐานข้อมูลผู้นำชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
สอบถามข้อมูลพื้นที่
ข้อมูลการเดินทาง แจ้งกำหนดการดำเนินงาน และนัดหมายวัน เวลา
ตามแผนที่วางไว้
การจัดเก็บข้อมูลผู้นำชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจถึงรายละเอียดในแบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
และเตรียมข้อคำถามที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงประเด็น
และชัดเจนที่สุด ทำให้การประเมินผลโครงการน่าเชื่อถือ และวัดผลได้จริง
นอกเหนือจากการสัมภาษณ์ผู้นำตามแบบสัมภาษณ์แล้ว
ยังต้องมีการเก็บบันทึกภาพผลงาน โครงการ / กิจกรรม
ที่ผู้นำท่านได้ดำเนินการไว้แล้ว ดังนั้น ข้าพเจ้าและทีมงานจึงต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
เช่น กล้องถ่ายรูป แบตเตอรี่สำรอง สมุดบันทึก ปากกา
และที่สำคัญนอกจากนี้คืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเดินทาง
เนื่องจากว่าระยะทางที่ไปนั้นเป็นพื้นที่ห่างไกล และผ่านเขตป่าเขาบ้างเป็นบางแห่ง
อีกทั้งเป็นการเดินทางในช่วงฤดูฝน ซึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นได้
เพื่อเป็นการไม่ประมาท ควรเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางให้ดี
เช่นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางควรนำไปเช็คสภาพก่อนการเดินทางว่าพร้อมใช้งานหรือไม่
ในการเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางโดยรถยนต์ราชการ
ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลการใช้รถอย่างเข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ในการติดตามจัดเก็บข้อมูล
เพื่อประเมินผลโครงการฯ ครั้งนี้ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ ๓ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๓ –
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ เนื่องจากระยะทางในการเดินทางอยู่ห่างไกล
จึงต้องมีการพักค้างในพื้นที่ ข้าพเจ้าและทีมงานจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเดินทางและพักค้าง
โดยมีการศึกษาหาข้อมูลแหล่งที่พักและได้ติดต่อประสานเรื่องที่พักไว้ล่วงหน้า
จึงทำให้ได้รับความสะดวกสบาย และปลอดภัย ต่อการพักค้างในพื้นที่เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
ในการติดตามจัดเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
เพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตร“ผู้นำการพัฒนา” ในครั้งใน ถือเป็นการไปพบปะผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปที่อยู่ในหมู่บ้าน
/ ชุมชนเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องวางตัวให้เหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทำงาน ต้องคำนึงบุคลิกภาพทั้งภายนอก ภายใน
การแต่งกายต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้สุภาพตามหลักสากล
และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ต้องรักษามารยาททางสังคม มีสัมมาคารวะ ให้เกียรติผู้อื่น
เปิดใจให้กว้างไม่หักล้างความคิดของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มองโลกในแง่บวก
และต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการดำเนินงาน เช่น การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
สถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมือง และเรื่องราวต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม / ชุมชน
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง เจ้าหน้าที่ และผู้นำชุมชน
หรือประชาชนที่ได้พบปะกันในครั้งนี้
ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานประสบสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความพึงพอใจในทุกๆฝ่าย
เจ้าของความรู้
นางสาวนภัทร โชติเกษม
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
สังกัด ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี
***ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ที่นี่ http://www.cddudonthani.com/site/2016-06-20-03-25-32/km-corner/download/2-km/35-km
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น